การนอนหลับ เป็นกระบวนการที่ร่างกายทำหน้าที่ตามธรรมชาติเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต คนเราจึงใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับ และใน 24 ชั่วโมง ร่างกายจะสั่งให้ร่างกายต้องนอนหลับพักผ่อนเช่นกัน
เวลาในการนอนหลับ และคุณภาพจะแตกต่างกันไปตามช่วงวัย ซึ่งในวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักมีปัญหาในการนอนหลับ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตเป็นอย่างมาก
ผู้สูงอายุ ต้องการการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เช่นเดียวกันกับทุกวัย การนอนไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุมีภาวะทางอารมณ์รุนแรงได้
สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
1. ด้านร่างกาย เกิดจากการที่สมองทำงานเสื่อมถอยลง และมักมีอาการเจ็บป่วยต่างๆ ร่วมด้วยอาจมีผลมาจากการใช้ยาในชีวิตประจำวัน และการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เช่น ดื่มกาแฟในช่วงเวลาเย็น
2. ด้านจิตใจและอารมณ์ อารมณ์ซึมเศร้าจากโรคที่เป็น หรือการดูแลของบุตรหลาน หรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อจิตใจ
3. ด้านสิ่งแวดล้อม การจราจรที่วุ่นวาย เสียงดังจากแหล่งต่างๆ แสงสว่างจากหลอดไฟ กลิ่นไม่พึงประสงค์ หรืออากาศที่ไม่ถ่ายเท เป็นต้น
การแก้ไข
1. แก้ไขด้านร่างกาย หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน นวดผ่อนคลาย ปัสสาวะก่อนเข้านอน รวมถึงชีวิตอย่างเอื้อต่อการนอนหลับได้ง่าย
2. แก้ไขด้านจิตใจและอารมณ์ นวดเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ลูกหลานเอาใจใส่ดูแล พูดคุยด้วยสม่ำเสมอ ฟังเพลงหรือเทปธรรมะก่อนนอน
3. แก้ไขด้านสิ่งแวดล้อม จัดห้องนอนให้สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิพอเหมาะ หลีกเลี่ยงจากเสียงรบกวนต่างๆ แสงสว่าง กลิ่น หรือภาวะบีบคั้น
การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มักนำมาซึ่งโรคต่างๆ และสภาพอารมณ์ที่แปรปรวนได้ ดังนั้น ญาติไม่ควรมองข้ามเรื่องการนอนหลับ และควรแก้ไขเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการทำงานของฮอร์โ
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อจะลุกจะนั่ง มักรู้สึกปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร
เมื่อโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” สัดส่วนจำนวนประชากร “ผู้สูงวัย” เพิ่มมากขึ้นพ
เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายคนเรามักเริ่มมีการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ อันเป็นสาเหต