รู้จักเบาหวานและภาวะเสี่ยง



โดยทั่วไปแล้ว เราจะรู้จักโรคเบาหวานว่าเป็นโรคที่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เบาหวานกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

น้ำตาลในร่างกาย
น้ำตาลในร่างกาย มาจาก 2 แหล่ง ดังนี้
1. จากคาร์โบไฮเดรต หรือแป้ง และน้ำตาล ที่เราทานเข้าสู่ร่างกาย
2. จากการสร้างของตับภายในร่างกาย ในช่วงที่เราไม่ได้ทานอาหาร เช่น ตอนหลับในเวลากลางคืน

การเกิดเบาหวาน
ปกติร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้น้ำตาลกลูโคส เพื่อให้เกิดพลังงาน ซึ่งหลักๆ จะได้จากเมื่อเราทานแป้งและน้ำตาลเข้าไป และร่างกายจะรักษาน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติตลอดเวลา ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวาน แม้มีน้ำตาลในเลือดสูง แต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากจำนวนฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ และเกิดจากการที่ตับทำงานผิดปกตินั่นเอง

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน คือ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลผิดปกติ ซึ่งอาจมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมองก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
- กรรมพันธุ์
- โรคอ้วน
- เชื้อชาติ
- มีโรคความดันโลหิตสูง
- ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- ภาวะตั้งครรภ์
- มีความเครียด
- อายุที่เพิ่มขึ้น และการใช้ยาบางชนิด

การป้องกันตนเอง
โรคเบาหวาน สามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักเกิน นอกจากนี้ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

โรคเบาหวาน หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะเป็นพิษต่อหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น ตาบอด ไตวาย หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองตีบได้ดังนั้น ควรดูแลตนเองเป็นอย่างดี หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังที่กล่าวไปแล้วนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคพาร์กินสัน โรคร้าย บ่อนทำลายคุณภาพชีวิต

หากพูดถึงโรคพาร์กินสัน เราคงนึกถึงโรคหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีอาการสั่นในขณะที่อยู่เฉย

ทานอย่างไรให้ได้สุขภาพดี สำหรับผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกายของผู้สูงว

อาการกระตุกของเปลือกตาและมุมปาก

หากคุณมีอาการกระตุกของเปลือกตาและมุมปาก โดยเป็นๆ หายๆ อยู่บ่อยๆ และเมื่อไปพบแพทย์ แ

สุขอนามัยพื้นฐาน 9 ข้อ ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

แม้ว่าผู้สูงอายุ จะอยู่ในวัยที่ต้องได้รับการดูแลจากลูกหลาน เนื่องจากมีความจำกัดทา

ภาวะสมองฝ่อ เกิดกับผู้สูงอายุทุกคนหรือไม่ และจะป้องกันอย่างไร

หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ภัยคุกคามคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้หลังคดโก่ง กระดูกเลื่อน ปวดหลัง ปวดคอ ซึ