กระดูกแข็งแรง ด้วยอาหารสร้างมวลกระดูก



เรื่องของกระดูก สำคัญมากสำหรับช่วงวัยสูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อย ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และเปราะบางได้ ซึ่งส่งผลให้กระดูกหักได้ง่าย

การจะเสริมสร้างมวลกระดูกนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่รู้จักรับประทานอาหารที่ช่วยในการเสริมสร้างมวลกระดูก ซึ่งมีดังนี้

ทานอาหารแคลเซียมสูง
เป็นที่รู้กันดีว่าแคลเซียม เป็นสารอาหารสำคัญมากในการสร้างเนื้อกระดูกและป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูก ผู้สูงอายุจึงควรบริโภคแคลเซียมให้ได้อย่างน้อยวันละ 1200-1500 มิลลิกรัม แหล่งแคลเซียมมีดังนี้ บร็อกโคลี ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง คะน้า ดอกกะหล่ำ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วและงา

ทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสพอดี
ฟอสฟอรัสจะทำงานร่วมกับแคลเซียมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของมวลกระดูก ซึ่งควรได้รับน้อยกว่าแคลเซียม ฟอสฟอรัสพบได้มากในอาหารดลุ่มเนื้อสัตว์ ซึ่งนอกจากทานเนื้อสัตว์แล้วควรเสริมแคลเซียมไปด้วย แหล่งของฟอสฟอรัสมีดังนี้ นม เนื้อ ปลา เป็ด ไก่ ไข่ เนยแข็ง ตับ ข้าวกล้อง ถั่ว ยีสต์ เป็นต้น

ทานแมกนีเซียมให้เพียงพอ
แมกนีเซียมช่วยควบคุมการทำงานของร่างกาย ผลิตพลังงาน สร้างโปรตีน ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และช่วยสร้างวิตามินดี ซึ่งเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน การรับแคลเซียมและแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกายต้องอยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพราะหากรับแคลเซียมมากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียมด้วย แหล่งของแมกนีเซียม มีดังนี้ ถั่วต่างๆ ธัญพืช แป้ง และอาหารทะเล

ทานอาหารที่มีวิตามินดี
วิตามินดีช่วยสร้างโปรตีน ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และสร้างกระดูกเพิ่ม แหล่งวิตามินดี มีดังนี้ น้ำมันตับปลา เนื้อปลาที่มีไขมัน ตับ ไข่แดง เป็นต้น และสามารถรับได้จากแสงแดดอ่อนๆ อีกด้วย

นอกจากการทานอาหารที่มีสารอาหารอย่างแคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และวิตามินดีแล้ว การจะเสริมสร้างมวลกระดูก ยังต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ลดมวลกระดูกอีกด้วย ซึ่งอาหารที่ลดมวลกระดูก คือ เนื้อสัตว์โปรตีนสูง อาหารรสเค็ม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาบางชนิด เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคเบาหวาน ยาป้องกันอาการชัก ฮอร์โมนไทรอยด์ เฮพาริน ซึ่งส่งผลต่อความหนาแน่นของกระดูก รวมไปถึงงดพฤติกรรมที่ขัดขวางการนำแคลเซียมไปใช้ เช่น การสูบบุหรี่


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง คือ โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำ

อาการนอนไม่หลับ ก็บ่งบอกโรคได้นะ

ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส

กินผักผลไม้หลากสี ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่

กินผักผลไม้หลากสี ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุที่ใส่ใจสุขภาพ ลำไส้ของ

4 ข้อควรทำ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีความเสื่อมถอยสัมพันธ์กันกับสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสภาพร่า

โรคเกี่ยวกับตา ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

ร่างกายที่เสื่อมโทรมไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวนไป อวัยวะต่างๆ ก็ทำงานได้

เลือดออกในโพรงสมองอันตรายถึงชีวิต

แค่ได้ฟังว่า เกิดภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ก็รู้สึกว่าอันตรายแล้ว ซึ่ง