อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมากขึ้นเมื่อพยายามทำการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ตำแหน่งที่ปวดมักจะเป็นด้านบนและด้านหน้าของข้อไหล่รวมทั้งบริเวณต้นแขน โดยมีอาการสำคัญคือ เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ลำบากไม่สามารถยกแขนขึ้นสูงได้ เช่น ไม่สามารถเอื้อมหยิบของ หวีผมเองได้ เกาหลังไม่ได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื้อหุ้มข้ออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ส่วนมากมักเกิดกับผู้ที่มีข้อไหล่บาดเจ็บหรือเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ เช่น กระดูกแขนหักต้องใส่เฝือกนานๆ หรือมีเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบและมีอาการปวดจนทำให้ผู้ป่วยหยุดใช้แขนข้างที่บาดเจ็บ มีปัญหาของกระดูกข้อต่อและเส้นประสาทคอก็ทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดได้

การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อลดปวดและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวมีหลายวิธี เช่น การดัดดึงข้อต่อ การใช้ความร้อน/เย็น รักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง และการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบรรเทาและการรักษาอาการของโรคโดยเน้นออกกำลังกายที่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

การออกกำลังกาย


1. ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


2. หันด้านข้างเข้าหากำแพง ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


3. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ และดึงขึ้นมาเหนือศรีษะ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


4. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ (หากเอื้อมไม่ถึงให้ใช้ผ้าขนหนูช่วย) และดึงอ้อมทางด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


5. โน้มตัวมาทางด้านหน้า มือข้างปกติจับกับโต๊ะหรือเก้าอี้หมุนข้อไหล่ข้างที่มีอาการให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้อย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการปวด ประมาณ 10 รอบ ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


6. เอื้อมมือข้างที่มีอาการทางด้านหน้า มือข้างปกติจับที่ข้อศอกดึงค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10  ครั้ง


7. ประสานมือทั้งสองข้าง ยกแขนขึ้นไปทางด้านหลังค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10  ครั้ง


8. กางไหล่พร้อมงอศอกข้างที่มีอาการวางบนขอบประตูโน้มตัวมาทางด้านหน้าจนรู้สึกตึงที่ด้านหน้าข้อไหล่ค้างไว้ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10  ครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาไซโคลสปอริน เพื่อผู้สูงอายุที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจก่อให้เกิดโรค หรือการสูญเ

ทำอย่างไร ให้ไม่หลงๆ ลืมๆ ดีนะ

อาการหลงๆ ลืมๆ นี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการไม่เอาใจใส่ การรีบเร่ง ความกังวลในใจ การทานยาบางชนิด เป็นต้น

ภาวะขี้หูอุดตันในผู้สูงอายุ

แม้ว่าภาวะขี้หูอุดตันจะพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในผู้สูง

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ความดันของคนเราปกติจะอยู่ที่120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งการที่ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากสภาวะอารมณ์ หรือกิจกร

อายุยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเป็นพังผืดที่จอตา

ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาถามหาแล้

ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า