สังคมที่วุ่นวายและเร่งรีบ แข่งขันกันในปัจจุบัน ทำให้ต่างคนต่างก็ต้องดูแลตนเองได้ การขับรถก็เช่นเดียวกัน ผู้สูงอายุหลายท่าน แม้ว่าจะอายุมากแล้ว ก็ยังคงขับรถไปไหนมาไหนเอง
ในการขับรถของผู้สูงอายุนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่เมื่ออายุมากขึ้นจนการมองเห็น การได้ยิน รวมถึงการตอบสนองต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าต่างๆ ด้อยลง ก็ควรมีผู้มาช่วยขับให้แทนจึงจะเกิดความปลอดภัย
นอกจากสภาพทางร่างกายแล้ว การเป็นโรคต่างๆ ก็มีผลต่อการขับรถเช่นเดียวกัน โดยโรคที่มีผลต่อการขับรถมีดังนี้
1. โรคตา
ผู้ที่เป็นโรคตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ขับรถในเวลาโพล้เพล้หรือตอนกลางคืนแล้วมองไม่ชัด ในผู้ป่วยต้อหินยังอาจมีลานสายตาที่แคบทำให้มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคต้อหินจะมองเห็นแสงไฟบอกทาง ไฟหน้ารถพร่าได้
2. โรคทางสมอง
ผู้ที่สมองเสื่อม มีอาการหลงลืม ขับรถหลงทาง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูก การตัดสินใจและสมาธิไม่ดี หรือแขนขาไม่มีแรงที่จะขับรถ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ได้ดี หรือความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง
3. โรคต่างๆ
โรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อการขับรถ และทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น
- โรคพาร์กินสัน ที่มีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น บางทีมีเท้าสั่นด้วย ทำอะไรเชื่องช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี
- โรคลมชัก ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าคนหนุ่มสาว เมื่อมีอาการชัก จะเกร็ง กระตุก ไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
- โรคหัวใจ ทำให้อาจมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด
- โรคเบาหวาน ทำให้มีอาการหน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง
- โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถเช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่ต้องกินยาหลายชนิด และมีผลทำให้ง่วงซึม เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ ยาลดน้ำมูก ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ก็ส่งผลต่อการขับรถเช่นเดียวกัน
อันตรายบนท้องถนนนั้น อาจส่งผลถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้เสมอ ดังนั้น หากมีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการขับรถ รวมถึงกินยาที่ทำให้ง่วงซึมก็ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเองจะดีที่สุด
ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในครอบครัว คือผู้อาวุโสที่ลูกหลานควรให้ความเคารพ
ในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางบุคลิกภาพ บุคคลที่มีลักษณะเป็น Introvert หรือคนที่ชอบใช้เวลาอยู่คนเดียวแ
ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายย่อมอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น การ
ในวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุเริ่มเข้าเลข 4 โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุใด หรือมีสภาพร่างกายเป็นอย่างไร การออกกำลังกาย ก็ยังคงเป็นกิจกรรมที่สำคัญ แล
ผิวแห้งแตกสามารถเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง และหากเกิดการดูแล