ปั่นจักรยาน ต้านโรคหัวใจ ช่วยให้อายุยืนยาว



ในยุคนี้ คงไม่มีการออกกำลังกายใดที่มาแรงแซงกว่าการปั่นจักรยานแน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นการออกกำลังกาย เปิดโลกกว้างแล้ว ยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากอีกด้วย ในวัยของผู้สูงอายุเอง ก็สามารถเลือกออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเช่นกัน แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของร่างกาย และความสามารถของตนเองด้วย เพื่อความปลอดภัย

สำหรับผู้สูงอายุบางท่านที่มีสุขภาพแข็งแรง และออกกำลังกายมาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ก็สามารถปั่นจักรยานอย่างจริงจังได้ในทุกวัน โดยปั่นได้หลายสิบกิโลเมตร แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ชอบออกกำลังกายเบาๆ ก็สามารถปั่นจักรยานเพื่อความเพลิดเพลิน เพียงวันละ 15-20 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว

ประโยชน์ของการปั่นจักรยานออกกำลังกาย มีดังนี้
- ช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว ขาแข็งแรง
- นอนหลับง่าย และหลับสนิท ช่วยให้ผู้สูงอายุนอนหลับง่าย และสนิทขึ้น เพราะผู้สูงอายุมักประสบปัญหาการนอนไม่หลับ
- ช่วยให้ดูอ่อนวัยขึ้นได้ และมีผิวพรรณดี
- เพิ่มประสิทธิภาพสมอง เพราะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองในส่วนความจำ ซึ่งจะหมดรวดเร็วหลังอายุ 30 ปี จึงช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้
- สุขภาพแข็งแรงขึ้น ภูมิต้านทานแข็งแรง และมีอายุยืนยาว
- ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น เพราะการปั่นจักรยานช่วยกระตุ้นให้อาหารไหลผ่านลำไส้ได้เร็วกว่า และช่วยกระตุ้นการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มกำลังในการบีบรัดตัวของลำไส้ จึงไม่รู้สึกอึดอัดหลังทานอาหาร และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้อีกด้วย
- ช่วยลดโรคความดัน โรคอ้วน และโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
- ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะนำมาซึ่งโรคต่างๆ ได้อีกด้วย
- ได้เพื่อนเพิ่มขึ้น จากเพื่อนที่ร่วมปั่นจักรยานด้วยกัน หรือเพื่อนตามสถานที่ต่างๆ ที่คุณปั่นจักรยานออกไป
- เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ พบว่าในเพศหญิงช่วยเลื่อนวัยหมดประจำเดือนออกไปได้ถึงกว่า 5 ปี และช่วยให้เพศชายแข็งแรง
- ลดอาการเหนื่อยล้าและความเครียด การออกไปปั่นจักรยานรับอากาศบริสุทธิ์จะช่วยให้เราสดชื่นขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ และยังช่วยให้ได้ท่องโลกกว้าง เปิดหูเปิดตาได้อีกด้วย

ประโยชน์มากมายขนาดนี้แล้ว จะมองข้ามการออกกำลังกายดีๆ อย่างการปั่นจักรยานไม่ได้อีกต่อไปแล้วนะคะ เอ้า พร้อมแล้วไปปั่นกันเลยค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก และรับมือกับ “วัยทอง”อย่างภาคภูมิใจ

วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในช่วงอ

อาการของ “ผู้สูงอายุ” และการดูแลตนเอง

เมื่อมองดูตนเองเมื่อไร ก็รู้สึกว่าเริ่มมีริ้วรอย ตีนกาเพิ่มมากขึ้นไปทุกที กลับมามองอ

9 สารอาหารสำคัญที่ผู้สูงอายุควรได้รับในแต่ละวัน

การเตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุนั้น ควรมีความใส่ใจทั้งการเตรียมให้ครบ 5 หมู่ ความอ่อนนุ่มทานง่าย ปริมาณเหมาะสม ความสะอาดของอาหารและภาชนะ และสารอาหาร

ผู้สูงอายุกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน

ในช่วงวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุหลายท่านชื่นชอบในการเดินทางท่องเที่ยว เพราะเป็นช่วง

เช็คตนเอง 9 ข้อ ในการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย

ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่ายอย่างช่วงสูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักกังวลว่าจะใช้ชีวิตอ

การให้อาหารทางสายยาง สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทานเองได้

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีโรคประจำตัว หรือเจ็บป่วยด้วยอาการต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง เมื่