ในวัยสูงอายุ กระดูกย่อมอ่อนแอ และพรุนได้ง่ายมาก โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่งในเริ่มแรกจะไม่มีอาการชัดเจน รู้สึกเพียงแค่ปวดเมื่อย จนเมื่อกระดูกพรุนหรือบางมากก็จะเริ่มปวดกระดูกโดยเฉพาะที่หลังและสะโพก
สาเหตุหลักเกิดจากการดูดซึมของแคลเซียมในผู้สูงอายุลดลง และได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อย ในแต่ละวันร่างกายต้องได้แคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ กระดูกจึงจะแข็งแกร่ง โดยผู้หญิงวัยหมดระดูต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุต้องการวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม แคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารจะมีปริมาณต่างกัน ชนิดที่เป็นยาเม็ด ก็มี ดังนั้นควรเลือกกินแต่พอดี การกินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะไม่มีประโยชน์ต่อกระดูก แต่กลับจะทำให้ท้องผูก
การแก้ไขปัญหากระดูกพรุนอย่างหนึ่ง ก็คือการทานอาหารที่มีแคลเซียม หรือดื่มนมแคลเซียมสูง ผู้สูงอายุควรดื่มนมวันละ 1 แก้วโดยควรดื่มนมพร่องมันเนย หรือ นมขาดมันเนยเพราะจะมีไขมันน้อย และมีแคลเซียมสูงแต่ถ้าอยากดื่มนมโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวก็จะมีความหวานมากขึ้นเพิ่มแคลอรี่มากขึ้น
ผู้สูงอายุบางท่านที่ดื่มนมไม่ได้ควรดื่มนมถั่วเหลืองแทนเนื่องจากได้โปรตีนจากถั่ว แต่จะต้องกินควบคู่ไปกับอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่นปลาเล็กปลาน้อย ก้างปลากรอบด้วย ซึ่งควรอ่านที่ฉลากเพื่อที่จะได้วางแผนการกินที่จะช่วยให้ร่างกายได้แคลเซียมแต่ละวันอย่างพอดี ดังตัวอย่างรายการอาหารและยาแคลเซียมโดยอาหารเสริมแคลเซียมแต่ละประเภท มีปริมาณแคลเซียมดังนี้
- นมสดยูเอชที (ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย) ในปริมาณที่บริโภค 200 ซีซี (1 กล่อง) จะได้แคลเซียม 240มิลลิกรัม
- นมเปรี้ยวโยเกิร์ต ในปริมาณที่บริโภค 150 ซีซี (1 ขวด) จะได้แคลเซียม 150 มิลลิกรัม
- ปลาสลิด ในปริมาณที่บริโภค 1 ตัวจะได้แคลเซียม 106 มิลลิกรัม
- งาดำคั่ว ในปริมาณที่บริโภค 1 ช้อนโต๊ะ (5 กรัม) จะได้แคลเซียม 116 มิลลิกรัม
- เต้าหู้เหลือง ในปริมาณที่บริโภค1 ก้อนจะได้แคลเซียม 240 มิลลิกรัม
- ยาแคลเซียมคาร์บอเนต ในปริมาณที่บริโภค1 เม็ด (625 มิลลิกรัม) จะได้แคลเซียม 250 มิลลิกรัม
- ยาแคลเซียมอะซิเตต ในปริมาณที่บริโภค 1 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) จะได้แคลเซียม 250 มิลลิกรัม
- ยาแคลเซียมแลคเตรต ในปริมาณที่บริโภค 1 เม็ด (300 มิลลิกรัม) จะได้แคลเซียม 39 มิลลิกรัม
แคลเซียม เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ และควรจัดให้มีการเสริมแคลเซียมอยู่เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันปัญหากระดูกผุกร่อน ปวดตามข้อกระดูกต่างๆ และยังช่วยให้ฟันแข็งแรงได้อีกด้วย
ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ มีความเสี่ยงที่จะมีอาการ
การออกกำลังกาย เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และช่วยป้องกันโรคต่าง
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีเวลามาก ไม่ต้องออกไปทำงาน หรือทำอะไรมากมาย ซึ่งเวลาว่างเหล่านี
เมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ เมื่อมีการเตรียมความพร้อมที่ดี ก็จ
ผู้สูงอายุจำนวนมาก เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ มักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัวต่างๆ มาด้
เมื่อแก่ตัวลงเป็นธรรมดาที่อยากพึ่งตัวเองให้ได้เหมือนเดิม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่