การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข



ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอยลงไปแล้ว ยังต้องสู้กับโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ด้วย

ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จะอยู่กับอาการของโรคนั้นไปตามระยะของโรค จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในแต่ละระยะ โดยเฉพาะระยะสุดท้ายของโรค บุตรหลานควรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่ต้องเจ็บปวดจากอาการของโรค และมีความสุขที่สุด

อาการในระยะสุดท้ายและการดูแล

- เปกินอาหารไม่ได้ หรือกินได้น้อยลงเรื่อยๆ สามารถแก้ปัญหาได้โดยการให้อาหารเหลว หรืออาหารทางสายยาง ช่วยให้สบายท้องขึ้น และท้องไม่อืดเหมือนการกินอาหารปกติ อีกทั้งยังขับถ่ายง่าย และควรให้น้ำและอาหารเมื่อจำเป็นเท่านั้น

- การขับถ่าย อาจมีมูกเลือดออกมาพร้อมกับอุจจาระ หรือปัสสาวะ ควรมีการจดบันทึกจำนวนครั้งของการขับถ่าย พร้อมสังเกตสิ่งเจือปน ผู้ดูแลไม่ต้องตกใจ แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ (กรณีอยู่ที่โรงพยาบาล) ที่สำคัญคือการรักษาความสะอาดหลังการขับถ่าย เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ควรพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับ

- มีอาการอ่อนเพลีย ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่มักจะนอนหลับในตอนกลางวัน แต่ตื่นในตอนกลางคืน ผู้ดูแลอาจต้องปรับตัวเรื่องการนอน หรือหาผู้ช่วยมาดูแลตอนกลางคืน

- ดื่มน้ำน้อยลงหรืออาจไม่ดื่มเลย ภาวะขาดน้ำในระยะนี้ไม่เป็นอันตราย แต่ยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น ดังนั้น หากริมฝีปากแห้ง จมูกแห้ง หรือตาแห้ง ก็ใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำเช็ด หรือทาด้วยวาสลีนช่วยแทน

-อาจมีอาการร้องครวญคราง หรือมีหน้านิ่วคิ้วขมวด ซึ่งอาจไม่ใช่เกิดจากความเจ็บปวด แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสมอง เข้าสู่ภาวะกึ่งไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าเกิดจากการเจ็บปวด ควรให้ยาแก้ปวดในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เพราะจะส่งผลถึงสมองด้วย

- ไม่ค่อยรู้สึกตัว ญาติหรือผู้ดูแลควรพูดข้างๆ หูในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสบายใจ เพราะผู้ป่วยยังรับรู้และได้ยิน แต่ไม่สามารถตอบสนองได้ ทางโรงพยาบาลหลายแห่งได้ให้ผู้ป่วยและญาติประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นิมนต์พระมารับการใส่บาตร ถวายสังฆทาน และให้ฟังพระเทศจากเทป เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสบายใจ เป็นการเสริมกำลังด้านจิตวิญญาณให้สุขสงบ

ในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมักนอนหลับตาตลอดเวลา และมีการตอบสนองในแต่ละส่วนน้อยลงเรื่อยๆ แม้จะเป็นในช่วงสุดท้าย ญาติก็ควรดูแลผู้สูงอายุของท่านเป็นอย่างดีตามปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีความสุขที่สุดในช่วงสุดท้าย


บทความที่เกี่ยวข้อง

แก้ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีอาการนอนไม่หลับ จึงทำให้เสียสุขภาพจิต อารมณ์รุนแรง ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และสุขภาพอ่อนแอ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ มีด้

เรียนรู้และป้องกันโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

โรคกรดไหลย้อน จะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป มากกว่าวัยหนุ่มสาว โดยมักจะเกิดอาการหลังรั

เป็นโรคไต ทานอะไรดี

โรคไต เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และสร้า

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

6 โรคร้าย ภัยเงียบ ที่ต้องเฝ้าระวังก่อนจะเป็น

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรค

พฤติกรรมแบบใด เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ

ในวัยสูงอายุ ภูมิคุ้มกันจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ แม้ว่