นอนไม่หลับ บ่งบอกถึงสุขภาพจิต



การนอนไม่หลับ เป็นอาการที่เรามักพบว่าผู้สูงอายุเป็นอยู่เป็นประจำ และเหมือนเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงอายุ เนื่องจากร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง อาจส่งผลให้เจ็บปวดตามร่างกาย หรือนอนได้ยาก

การนอนไม่หลับ ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิต เพราะอาจทำให้มีสภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรง และกลายเป็นคนขี้หงุดหงิดไปได้

สาเหตุของการนอนไม่หลับนั้น เกิดจากปัจจัย 3 ด้าน คือ

- ด้านร่างกาย เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของสมอง ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย หรืออาจเป็นผลมาจากการใช้ยาบางอย่าง รวมถึงการดำเนินชีวิต เช่น ดื่มน้ำมากก่อนนอน หรือดื่มกาแฟในช่วงเย็น เป็นต้น

สาเหตุทางด้านร่างกาย สามารถแก้ไขได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน ไม่ดื่มน้ำมากๆ ในช่วงเย็นไปจนถึงก่อนนอน รวมถึงงดดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนในช่วงเย็นเป็นต้นไปด้วย

- ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดจากการจราจรที่วุ่นวาย เสียงดังจากแหล่งต่างๆ แสงสว่างจากหลอดไฟ กลิ่นไม่พึงประสงค์ หรืออากาศที่ไม่ถ่ายเท เป็นต้น

การจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอน จึงมีความจำเป็นต่อผู้สูงอายุ เช่น จัดห้องให้นอนได้อย่างสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก ที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่มีเสียง กลิ่น หรือแสงสว่างรบกวนในเวลานอน อีกทั้งยังควรรักษาความสะอาดอย่าให้มีมด แมลง หรือฝุ่น เศษขยะต่างๆ ภายในห้อง ซึ่งทำให้รบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุได้

- ด้านจิตใจและอารมณ์ เกิดจากอารมณ์ซึมเศร้าจากโรคที่เป็น หรือการดูแลของบุตรหลาน หรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อจิตใจ

การนอนไม่หลับในด้านอื่นๆ นั้น ยังไม่ส่งผลต่อสุขภาพและอารมณ์ เท่ากับการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากสภาวะด้านจิตใจ เพราะอาจบ่งบอกได้ว่า สุขภาพจิตกำลังอยู่ในช่วงย่ำแย่ ซึ่งมีผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน หากพบว่าญาติผู้ใหญ่ของคุณมีอาการนอนไม่หลับบ่อยครั้ง และไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคทางสมอง ซึ่งเป็นอันตรายหากไม่รีบรักษา

การดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดี และหมั่นตรวจดูว่าผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับหรือไม่ อาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และโรคทางสมองได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า

ปวดศีรษะ อาการอันตรายที่ต้องตรวจสอบ

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง

ต้อหินเรื้อรังในผู้สูงอายุ

ต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และต้อหินเรื้อรัง ต้อหินเรื

อาการอ่อนแรงในผู้สูงอายุ ร้ายแรงกว่าที่คิด

ถ้าผู้สูงอายุในบ้านของท่านมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา เปลือกตา จนขยั

กระดูกสันหลังเสื่อม อาจเสี่ยงต่อการพิการได้

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับบรรดาข้อกระดูก

ดูแลสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ โรคร้ายทำลายผู้สูงอายุ

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่ง ที่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยไม่แพ้โรคอื่น แม้ว