กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ดูแลและป้องกันได้อย่างไร



อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แม้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การเคี้ยวอาหาร การกลืน การพูด และการแสดงสีหน้าอารมณ์ ซึ่งอาการที่เด่นชัด คือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า มีผลต่อรูปทรงและการเคลื่อนไหวใบหน้า

สาเหตุของโรค
- เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
- เกิดจากโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
- เกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง บริเวณก้านสมองส่วนบน
- เกิดจากอุบัติเหตุต่อสมอง
- เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง เป็นต้น

อาการของโรค
- กล้ามเนื้อบริเวณใบหนน้าอ่อนแรง ไม่มีแรง เช่น กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนอาหาร การพูด การออกเสียง
- น้ำลายไหลตลอดเวลา ไม่สามารถแลบลิ้นออกมาได้
- แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม เช่น หัวเราะ ร้องไห้
- สำลักอาหาร
- ตรวจพบรีเฟล็กบริเวณใบหน้าส่วนกรามผิดปกติ

การรักษาโรค
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น คือ ให้ยาลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ยาลดน้ำลาย ยาควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ ยาต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

การดูแลตนเอง
- เมื่อป่วย คุณควรระวังการสำลักอาหาร และการแสดงออกทางอารมณ์ เนื่องจากการทานอาหาร และการกลืนอาหารมีปัญหา ซึ่งหากสำลัก ก็อาจเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ปอดติดเชื้อได้
- ระวังปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า จึงต้องมีผู้ดูแลและเข้าใจ
- ควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดี เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เพราะทำให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดได้

นอกจากการดูแลตนเองดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น คุณควรงดสูบบุหรี่ ไม่ปล่อยให้อ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และระวังอุบัติเหตุทางสมอง ก็จะช่วยป้องกันโรคได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

แก้ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีอาการนอนไม่หลับ จึงทำให้เสียสุขภาพจิต อารมณ์รุนแรง ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และสุขภาพอ่อนแอ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ มีด้

ยาไซโคลสปอริน เพื่อผู้สูงอายุที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจก่อให้เกิดโรค หรือการสูญเ

การแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า สุขภาพร่างกาย จะเสื่อมถอยลง ส่งผลต่อระบบร่างกายต่

การปฏิบัติตน เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยเฉพาะสตรีในวัยทอง ที่มักมีปัญหากระดู

อาการสมองเสื่อม ชะลอได้ใน 8 วิธี

สมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยจำนวนอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะเพิ่มความ

ผู้สูงอายุ โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้สูงอายุ โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส เกี่ยวข้องกันอย่างไร