ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ



ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลง ทำงานได้ลดลง ร่างกายอ่อนแอลง ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย และโรคภัยต่างๆ ขึ้น เมื่อผู้สูงอายุมักมีอาการเจ็บป่วย หรือมีโรคภัยต่างๆ จึงย่อมที่จะต้องหาหมอ และทานยาอยู่เสมอๆ ยา จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตสำหรับผู้สูงอายุอย่างหนึ่ง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ไม่ชอบไปพบแพทย์ และเลือกที่จะซื้อยาทานเอง หรือทานยาเก่าที่เคยมี หากมีอาการคล้ายคลึงกับอาการที่เคยเป็นมาก่อน สิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ การใช้ยา แม้ว่าจะใช้เพื่อรักษา แต่หากใช้อย่างไม่เหมาะสม หรือไม่ระวัง ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน

ข้อควรรู้ และควรระวังในการใช้ยา
- ผู้สูงอายุมีสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้นและน้ำลดลงในร่างกาย ทำให้ยาหลายชนิด มีระดับยาสูงขึ้นในร่างกาย อาจเกิดพิษได้ง่ายและยาออกฤทธิ์นานกว่าปกติ จึงควรใช้ยาตามแพทย์สั่ง
- เมตาบอลิสซึมของยาหรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ตับมีขนาดเล็กลง เลือดมาเลี้ยงลดลงทำให้มีโอกาสที่จะมียาคั่งค้างสูงและการกำจัดยาทางไต ทำได้ลดลงเนื่องจากไตทำงานลดลงตามอายุ จึงอาจทำให้ขับยาออกจากร่างกายไม่ได้การใช้ยาเก่า หรือซื้อยาเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากกว่าจะเป็นประโยชน์ได้
- หากจำเป็นต้องซื้อยาเองจริงๆ ควรบอกอาการอย่างครบถ้วนแก่ผู้จ่ายยา
- หากไปซื้อยาที่เคยใช้ประจำ ควรจำชื่อยาให้ได้ หรือมีชื่อยาไปให้ผู้จ่ายยาทุกครั้ง
- ระมัดระวังการใช้ยาลูกกลอน แม้ว่าจะเป็นสมุนไพร แต่มักมีการผสมยาประเภทสเตียรอยด์ ทำให้หายปวดข้อได้จริงแต่มีผลเสียในระยะยาวมากมาย เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ยาบางชนิด มีผลต่อร่างกายหากทานร่วมกับยา หรืออาหารเสริมตัวอื่น ดังนั้น การพบแพทย์ และจ่ายยาโดยแพทย์ จึงมีความปลอดภัยและตรงกับโรคที่เป็นมากกว่า
- ร่างกายที่เปลี่ยนไปตามอายุ หรือสุขภาพ ย่อมมีผลต่อการรับยาด้วย ดังนั้น ไม่ควรทานยาเก่าที่มี แม้ว่าจะเคยทานได้ผลดีมาก่อน เนื่องจากปัจจุบัน ร่างกายอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน

การทานยาให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ควรไปพบแพทย์ และไม่ควรทานยาเก่า หรือซื้อยาทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ลูกหลานยังควรมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุในการใช้ยา เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดศีรษะ อาการอันตรายที่ต้องตรวจสอบ

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง

4 วิธี ป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

ในผู้สูงอายุ มักมีสภาพร่างกายอ่อนแอ เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ

ยาไซโคลสปอริน เพื่อผู้สูงอายุที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจก่อให้เกิดโรค หรือการสูญเ

อาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ

คุณคงเคยพบเจออาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุในบ้านของคุณอยู่บ่อยๆ แ

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม

ดูแลสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ โรคร้ายทำลายผู้สูงอายุ

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่ง ที่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยไม่แพ้โรคอื่น แม้ว