เบาหวานขึ้นตา ป้องกันและรักษาอย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้กับเนื้อเยื่อและอวัยวะทุกๆ เนื้อเยื่อ และหากเกิดขึ้นกับดวงตา อาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดถาวรได้ เราเรียกว่า เบาหวานขึ้นตา หรือ เบาหวานกินตา



โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนี้ ทั้งการทานแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป และขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคเบาหวานหากเกิดขึ้นแล้ว แม้จะไม่ส่งผลให้เสียชีวิตโดยตรง แต่ก็ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ และไต เป็นต้น ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

หากเป็นเบาหวาน ควรตรวจตาเมื่อใด
ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ควรตรวจตาทุกคน แม้ว่าจะยังมองเห็นเป็นปกติก็ตาม โดยมีเกณฑ์ดังนี้
- ผู้ที่เริ่มเป็นเบาหวานเมื่อมีอายุ 0-30 ปี ควรตรวจตาหลังเป็น 5 ปี และหลังจากนั้นควรตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
- หากเป็นตอนอายุ 31 ปีขึ้นไป ควรตรวจทันทีที่พบโรค และตรวจต่อเนื่องอย่างน้อยปีละครั้ง
- ผู้ที่เป็นเบาหวานและตั้งครรภ์ ควรตรวจทันทีที่ตั้งครรภ์หรือภายใน 3 เดือนแรก และมาตรวจตามที่แพทย์นัด

อาการของเบาหวานขึ้นตา
1. ในระยะแรกอาจไม่มีอาการใด ทำให้ผู้ป่วยละเลยการทำตามคำแนะนำของแพทย์
2. ตามัวลงเล็กน้อย และมัวลงอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจเข้าใจว่าเป็นอาการตามัวตามอายุ
3. เริ่มมองเห็นภาพบิดเบี้ยว และก่อให้เกิดโรคจอตามีการบวมน้ำ หรือมีการตายของเซลล์จอตาเป็นหย่อมๆ
4. มีลานสายตาผิดปกติ อาจเห็นมืดไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะเซลล์รับรู้การเห็นบริเวณนั้นขาดเลือด
5. ตามืดลงอย่างฉับพลัน มักเกิดในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นตา

การรักษาและดูแลตนเอง
- เมื่อเพิ่งเริ่มเป็นโรค ควรควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
- หากโรคที่จอตาเป็นมากขึ้น ควรรักษาด้วยเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม ซึ่งอาจต้องทำหลายครั้ง
- ถ้ามีเลือดออกในน้ำวุ้นตา หรือมีพังผืดดึงจอตาหลุดลอก ควรรีบทำการผ่าตัดน้ำวุ้นตา ซึ่งมักเป็นขั้นที่อันตรายและทำการรักษาได้ยากแล้ว
- รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- ทานยาเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามแพทย์สั่ง

โรคเบาหวาน สามารถทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย และหากทำลายจอตา ก็จะส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ลงมาก ดังนั้น คุณจึงควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ นั่นคือการรักษาตนเองให้ห่างไกลโรคเบาหวาน


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลากวิธีป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และต้องอาศัยการระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลต่อร่างกาย

โรคประจำตัวต่างๆ กับการออกกำลังกาย

เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย

โภชนาการอาหารที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันโรค ทำให้ผู้สูงอ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย

เล็บบอกโรคได้ มาสำรวจเล็บกันเถอะ

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ร่างกายส่วนต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมโทรมไป รวมถึง

การป้องกันโรคตาในผู้สูงอายุ

ดวงตา เป็นสิ่งที่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ผู้สูงอายุจึงมักมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และโร