ความสำคัญของผู้สูงอายุ



ผู้สูงอายุ มักมองว่าตนเองด้อยค่า ต้องพึ่งพาผู้อื่น และร่างกายก็เสื่อมโทรม ไม่สามารถทำสิ่งใดได้ดี แต่แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุ เป็นผู้ที่มีคุณค่าต่อสังคมเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งความรู้ความชำนาญ และเป็นผู้ธำรงไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นสายใยสำคัญของครอบครัวอีกด้วย

เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นบุคคลสำคัญของสังคม องค์การสหประชาชาติจึงมีมติให้มีวันผู้สูงอายุสากล หรือวันผู้สูงอายุโลกขึ้น โดยกำหนดให้ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี

สำหรับในประเทศไทย ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุเช่นกัน ในสมัยพลเอกเปรม ตินสูลานนท์ จึงกำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ที่สื่อความหมายตรงกับความสำคัญของผู้สูงอายุ เป็นวันที่ลูกหลานจะได้รดน้ำดำหัวให้ผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อรับศีลรับพรจากท่านอีกด้วย

ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ คือดอกลำดวน เพราะลำดวนเป็นต้นไม่ที่มีอายุยืน ให้ความร่มเย็น ให้ร่มเงา และมีใบเขียวตลอดปี ไม่ร่วงง่าย มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ซึ่งเปรียบเหมือนผู้สูงอายุที่คงคุณความดีไว้เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลานต่อไปนั่นเอง
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ได้มีการประกาศปฏิญญาผู้สูงอายุไทยซึ่งมีทั้งหมด 9 ข้อ ดังนี้

1. เกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
2. การยอมรับได้อยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข
3. การมีโอกาสได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการ เพื่อการพัฒนาศักยภาพ
4. มีโอกาสได้ทำงานถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเอง โดยได้รับค่าตอบแทน
5. มีโอกาสได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง และได้รับหลักประกันในการบริการด้านสุขภาพ
6. ได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในครอบครัวและสังคม
7. รัฐ และองค์กรต่างๆต้องดำเนินการในการจัดการดูแลผู้สูงอายุ ให้เป็นไปตามเป้าหมายรัฐ และประชาคมโลก
8. ต้องมีกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้สูงอายุในด้านต่างๆ
9. รัฐและสังคมต้องรณรงค์ และปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ

ด้วยความที่รัฐ องค์กรต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ จึงเกิดพระราชบัญญัติผู้สูงอายุขึ้น มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุน ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีสัญชาติไทยทั้งในด้านการแพทย์และการสาธารณสุข การศาสนา ข้อมูลข่าวสาร การประกอบอาชีพ การพัฒนาตนเอง การศึกษา การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย การช่วยเหลือ การยกเว้น การลดหย่อนค่าธรรมเนียม และภาษีอากร เบี้ยเลี้ยงชีพ ที่อยู่อาศัย การสงเคราะห์การจัดงานศพตามประเพณี และอื่นๆตามประกาศของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และในปี 2553 ได้มีการเพิ่มเติมให้มีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อครอบครัว และเป็นกลุ่มคนสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศชาติอีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีแก้ปัญหาการลืมทานยาหรือทานยาผิดของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวซึ่งต้องทานยาอยู่เป็นประจำ บางท่านต้องทานยามื้อละหลายเ

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องพาผู้สูงวัยออกท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว เป็นการเปิดหูเปิดตาที่ดี ทำให้ผ่อนคลายความเครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพลิดเพลิน จำเริญใจ

การท่องเที่ยว เป็นการพักผ่อนที่ดีอย่างหนึ่ง ด้วยการดำเนินชีวิตที่ต้องเคร่งเครียดอยู่เสมอ รวมถึงไม่มีเ

การดูแลผู้สูงอายุเมื่อมีอาการท้องผูก ท้องอืด และท้องเสีย

ผู้สูงอายุ มักมีระบบร่างกายที่ทำงานได้ไม่ดีนัก เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเจ็บป่วย และเก

ผมดกดำเหนือกาลเวลา ด้วยสารอาหารสำหรับผม 4 อย่าง

ผู้สูงอายุที่มีความกลุ้มใจกับปัญหาผมหลุดร่วง ผมบาง ผมหงอก ฟังทางนี้ค่ะ เพราะวันนี้เ

ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และการเตรียมพร้อมในแต่ละช่วงของวัยสูงอายุ

ในแต่ละช่วงอายุของคนเรา ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แม้จะดูว่าภายนอกไม่ค่อยเปล