โรคระบบทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะนั้น ส่วนใหญ่ประมาณ 75-95% ของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด อีโคไลซึ่งผู้หญิงมีโอกาสได้รับเชื้อง่ายกว่าผู้ชายมาก

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่จะพบได้มากในผู้หญิง แต่ผู้ชายก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้
- เชื้อโรคที่อยู่บริเวณปากท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และทวารหนักเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ (ส่วนมากพบในผู้หญิง เนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชายมาก)
- การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน และช่วงหมดประจำเดือน ส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์
- ใช้เจลหล่อลื่น หรือถุงยางอนามัยที่ไม่สะอาด
- ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น นิ่วในไต นิ่วในท่อไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะแช่ค้าง และแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี จึงติดเชื้อ
- ผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต เพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
- การนั่งนานๆ หรือกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญดี
- เป็นโรคที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เบาหวาน
- เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งปัสสาวะไม่สะดวก จึงเกิดการแช่ค้างของปัสสาวะ หรือโรคที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- การใช้สายสวนปัสสาวะ และท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะบาดเจ็บขากการสวน ทำให้ติดเชื้อได้

การรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มี 3 วิธี ดังนี้
1. การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรง เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น
2. การรักษาสาเหตุ โดยรักษาที่โรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคนิ่วในไต เป็นต้น
3. การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่ควรให้ความสำคัญ เพราะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตกต่ำ จึงควรหมั่นใส่ใจในการปัสสาวะให้เป็นเวลา ไม่กลั้นปัสสาวะ และระวังการเกิดโรคต่างๆ อีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หากเป็นแล้ว ก็ส่งผลต่อคุณภาพของ

ข้อปฏิบัติผู้สูงวัย หากไม่อยากสมองเสื่อม

อาการสมองเสื่อม ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแลหลายท่านอาจเข้าใจว่าเป็นเพียงอาการที่เกิด

9 โรคในผู้สูงวัย ต้องใส่ใจก่อนจะเป็น

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มักมีโรคภัยต่างๆ ถามหาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำ

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในผู้สูงอายุ ที่มีผลต่อการเกิดโรคและการรักษา

เหตุใดผู้สูงอายุจึงเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย หรือรักษาโรคได้ยากกว่าในวัยเด็กหรือหนุ่มส

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ด้านหัวใจและหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงในช่วงสูงวัย เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายน

ผู้สูงอายุทั้งหลาย วันนี้ท่านออกกำลังกายแล้วหรือยัง

การออกกำลังกาย เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนควรปฏิบัติ เพราะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแร