ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักลดในผู้สูงอายุ


ปัญหาน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้ส่วนมาก ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์มักตรวจพบว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร เป็นต้น ซึ่งมักเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง

นอกจากการมีอาการอื่นๆ ร่วมนั้น ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ซึ่งเป็นเรื่องปกติในผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการมีโรค และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีได้

น้ำหนักลดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามธรรมชาติ
น้ำหนักที่ลดลงตามธรรมชาตินั้น จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. โดยปกติผู้ชายทุกคนจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงอายุ 40-50 ปี ขณะที่ผู้หญิงจะมีน้ำหนักตัวขึ้นสูงสุดระหว่างอายุ 50-60 ปี หลังจากนั้นผู้ชายจะสูญเสียเนื้อเยื่อของร่างกายส่วนที่ไม่ใช่ไขมันไปรวดเร็วกว่าผู้หญิง ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นชายมีน้ำหนักลดได้เร็วกว่าผู้สูงอายุที่เป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากกล้ามเนื้อของแขนขาจะลดปริมาณลง ขณะที่ไขมันในบริเวณลำตัวจะเพิ่มมากขึ้น
2. ไขมันที่บริเวณใบหน้าจะลดจำนวนลง ทำให้ใบหน้าของผู้สูงอายุจะแลดูแก้มตอบ และด้านข้างของศีรษะบริเวณขมับลีบเล็กลง

น้ำหนักลดจากความผิดปกติ
ถ้าน้ำหนักลดลงจากเดิม 5% ภายในเวลา 6-12 เดือน ถือว่าอาจมีสาเหตุทางการแพทย์อย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่จากความชราแล้ว
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้น้ำหนักลด
1. ฟันและเหงือกผิดปกติ ทำให้เจ็บปวดขณะกิน หรือรับรสได้ไม่ดี ทำให้เบื่ออาหาร
2. การกลืนลำบาก มักไอ จาม สำลักอาหาร หรือเมื่อกลืนแล้วรู้สึกว่าอาหารติดอยู่ในหน้าอก สาเหตุอาจมาจากความผิดปกติที่หลอดอาหารเองเช่น มีเนื้องอกของหลอดอาหารหรือหลอดอาหารตีบตัน หรือมีอะไรมากดทับหลอดอาหารจากทางด้านนอก เป็นต้น ซึ่งควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
3. มีอาการท้องร่วงเรื้อรังโดยเฉพาะหลังอาหาร แต่สุขภาพโดยทั่วไปค่อนข้างดี ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารชนิดที่มีกากอาหารมากเกิดไป โดยกากอาหารที่มีอยู่ในลำไส้จะไม่ถูกย่อย กลับจะดูดน้ำเข้ามาไว้ กระตุ้นให้อาการถ่ายเหลวหลังอาหารได้
4. เกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งภาวะจิตซึมเศร้า เป็นต้น โดยพบว่ามะเร็งเป็นสาเหตุของน้ำหนักลดในผู้สูงอายุได้ราว 20%

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุน้ำหนักลดลงได้มากยังเกิดขึ้นได้จากภาวะสมองเสื่อม และผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้อีกด้วย ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด หากผู้สูงอายุมีน้ำหนักลดลง ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อวินิจฉัย และทำการรักษาต่อไป
 


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมาก

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อปวดหลังช่วงล่าง

ผู้สูงอายุ มักปวดหลังเป็นประจำ ทำให้จะลุกจะนั่งก็ลำบากจากอาการเจ็บปวดทรมาน ซึ

รู้จักเบาหวานและภาวะเสี่ยง

โดยทั่วไปแล้ว เราจะรู้จักโรคเบาหวานว่าเป็นโรคที่เกิดจากภาวะน้ำต

การหลงลืม ขี้ลืม ในผู้สูงอายุ

อาการขี้ลืม มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เช่น จำชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานไม่ได้ จำไม่ได้ว่า

ทำอย่างไร เมื่อเป็นไมเกรน

โอ๊ย ปวดหัวจริงๆ สงสัยจะเป็นไมเกรนแน่ๆ แต่จะรู้ได้อย่างไรนะว่

อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่าเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากสิ่งที่เราสะสมเอาไว้ในร่างกา