ยิ้มสู้กับวัยทองอย่างมั่นใจ



สาวๆ ทั้งหลายคงไม่อยากก้าวเข้าสู่วัยทองใช่ไหมคะ วันไหนอารมณ์บูดบึ้งขึ้นมา เพื่อนก็ทักว่า “นี่เป็นวัยทองเปล่าเนี่ย” ยังทำให้เราไม่สบอารมณ์เข้าไปใหญ่ ก็ในช่วงที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงวัยทอง มันช่างทำให้คุณภาพชีวิตแย่จริงๆ

ผู้หญิงเราจะเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนในช่วงเฉลี่ยอายุ 49.5 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รังไข่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง และหยุดไปในที่สุด ระบบต่างๆ ในร่างกายทั้งหมดจึงเปลี่ยนแปลง ทำให้หมดประจำเดือน ไม่มีชีวิตชีวา และมีโรคแทรกซ้อนมากมาย

ร่างกายในวัยทอง
การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่งผลดังต่อไปนี้
- หลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ จะมีอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ใจสั่น เบื่อง่าย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า น้อยใจง่าย ขาดสมาธิในการจดจำ และปวดเมื่อย
- หลังหมดประจำเดือนไประยะหนึ่ง ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์จะเกิดการฝ่อ ส่งผลให้ช่องคลอดแห้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์จึงรู้สึกเจ็บ กลั้นปัสสาวะได้ไม่ดี เล็บอ่อนแอ และผมร่วง
- ผลในระยะยาว คือ กระดูกผุพรุน หัวใจขาดเลือด และเริ่มมีอาการความจำเสื่อม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

การดูแลตนเองเมื่อเข้าสู่วัยทอง
1. พบแพทย์
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพราะบางอาการต้องการการรักษา ซึ่งแพทย์จะสามารถช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งบางรายก็ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยด้วย 1-5 ปีสำหรับบางคนอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในการรักษา ทั้งนี้ คุณจึงควรดูแลเอาใจใส่ตนเองตั้งแต่อายุยังน้อยๆ
2. ทานอาหารที่มีประโยชน์
ร่างกายคนเราในขณะปกติยังต้องการอาหารที่มีประโยชน์ ยิ่งถ้าในช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอย คุณยิ่งต้องเอาใจใส่ในการกินเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ งดอาหารมัน และทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง รวมถึงทานไฟเบอร์มากๆ ช่วยในการขับถ่ายด้วย เพราะในวัยทองระบบขับถ่ายจะทำงานได้ไม่ดี และอาจส่งผลให้ท้องผูก และเป็นโรคต่างๆ ตามมา
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
หนึ่งในอาการของวัยทองคือการที่กระดูกผุและพรุนได้ง่าย ดังนั้น การออกกำลังกายจึงช่วยป้องกันกระดูกพรุน และทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ควรระมัดระวังในประเภทของการออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกายประเภทที่ต้องมีการกระทบกระแทกกัน ท่ายากๆ หรือหนักจนเกินไป

ถ้าเรารู้จักดูแลร่างกายของเราให้ดีเสียแต่วันนี้ และรู้จักเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับวัยหมดประจำเดือนแล้วล่ะก็ คุณก็จะก้าวเข้าสู่วัยทองได้อย่างสมกับเป็นวัยทองของคุณจริงๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง

เตือนภัย 9 โรคร้าย ในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้าให้เศร้าใจ นั่นเพราะระบบต่างๆ ในร่างกายก็เสื่อม

ผู้สูงอายุที่อ่อนแรง ดูแลตนเองอย่างไร

สุขภาพร่างกายของคนเราจะดีได้นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ระบบร่างกายที่ทำง

แผนดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัยของผู้สูงอายุ

หากพูดว่าผู้สูงอายุ ที่จริงแล้ว ก็คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงวัยสูงอ

ข้อเข่าเสื่อม ดูแลรักษาตนเองได้อย่างไรบ้าง

ในผู้สูงอายุ เรามักพบปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้บ่อยๆ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยล

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในผู้สูงอายุ ที่มีผลต่อการเกิดโรคและการรักษา

เหตุใดผู้สูงอายุจึงเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย หรือรักษาโรคได้ยากกว่าในวัยเด็กหรือหนุ่มส

เลือดออกในโพรงสมองอันตรายถึงชีวิต

แค่ได้ฟังว่า เกิดภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ก็รู้สึกว่าอันตรายแล้ว ซึ่ง