รู้จักความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ



ร่างกายของคนเรา มีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่แตกต่างไปตามเพศ วัย และขนาดของร่างกาย ส่วนผู้สูงอายุนั้น เคลื่อนไหวร่างกายน้อย กิจกรรมน้อย จึงต้องการพลังงานไม่มากเท่ากับช่วงวัยอื่น

แม้ว่าลูกหลาน หรือผู้ดูแลจะทราบว่าในวัยสูงอายุไม่ต้องการพลังงานมาก แต่ก็อาจยังไม่เข้าใจว่า จะต้องให้ผู้สูงอายุได้รับพลังงานมากน้อยเพียงใด จึงปล่อยไปตามที่ผู้สูงอายุต้องการจะทานเป็นหลัก หากทานอิ่มก็แสดงว่าเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ขาดสารอาหาร หรือได้รับสารอาหารบางอย่างเกินความจำเป็นได้

ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับพลังงานประมาณ 2,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน และไม่ควรต่ำกว่า 1,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เพราะจะทำให้ร่างกายขาดวิตามิน และเกลือแร่บางชนิด สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการในแต่ละวัน มีปริมาณดังนี้

โปรตีน ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 44-51 กรัม หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะได้จากเนื้อสัตว์ต่างๆ ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วต้มน้ำตาล เป็นต้น

ไขมัน ควรทานไม่เกิน 30% ของพลังงานทั้งหมด โดยเลือกทานเป็นไขมันดีได้ก็จะดีต่อสุขภาพ เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เป็นต้น

คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง เผือก มัน ธัญพืชและน้ำตาล ซึ่งผู้สูงอายุควรได้รับประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด และหลีกเลี่ยงน้ำตาล รวมถึงของหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ

วิตามิน ช่วยในการเผาผลาญอาหาร และทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ผู้สูงอายุควรทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยในการขับถ่าย และทำให้ไม่เกิดอาการตัวชาอีกด้วย

เกลือแร่ ผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม และฟอสฟอรัสประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน

น้ำ ช่วยให้ไตทำงานได้ดีขึ้น และช่วยขับของเสีย รักษาสมดุลให้ร่างกาย ช่วยให้ผิวสดใส ไม่แห้งคันง่าย ผู้สูงอายุจึงควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ยกเว้นผู้ป่วยที่ต้องจำกัดน้ำ

ใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย เพราะผู้สูงอายุมีปัญหาระบบขับถ่ายได้ง่าย การทานใยอาหารจึงช่วยแก้ปัญหานี้ได้ดี ใยอาหารได้มาจากข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ ผักและผลไม้

แม้ว่าการดูแลเรื่องโภชนาการของผู้สูงอายุอาจจะมีรายละเอียดอยู่มากเสียหน่อย แต่หากทำเป็นประจำ คุณจะสามารถคะเนปริมาณสารอาหารที่จำเป็นในแต่ละมื้อ หรือในหนึ่งวันได้ค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

วางแผนรับมือกับความชราอย่างฉลาด

เมื่อถึงช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป เราจะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุในขั้นแรก ตั้งแต่ช่วงวัยนี้ เ

สุนัข สัตว์เลี้ยงแสนรู้ คู่ใจวัยชรา

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ปัญหาด้านสุขภาพก็มักจะตามมาด้วย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเจ็บป่วย และเป็นโรค

สารพันปัญหาในผู้สูงอายุ

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สภาพร่างกายของผู้สูงอายุเสื่อมถอยลง รวมถึงมีโรคภัยรุมเร้า ทำให้สุขภาพใจแล

5 ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจ

ผู้สูงอายุจำนวนมาก เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ มักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัวต่างๆ มาด้

การเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุ

ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายย่อมอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น การ

ปัญหาระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลาน

ความแตกต่างระหว่างวัย ส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือเข้าถึงกันได้ยาก ซึ่งปัญหาเหล่าน