เมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่เปลี่ยนไปตามช่วงวัยมักเปลี่ยนไปในทางที่ด้อยลง ทั้งสุขภาพ ระบบต่างๆ ของร่างกาย การทำงานของอวัยวะ รวมทั้งกระดูก ซึ่งเปราะบางลง
โรคกระดูก เป็นสภาวะผิดปกติที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูก ทำให้เปราะบาง อ่อนแอ ผิดรูป ไม่แข็งแรง หรืออาจหักได้ซึ่งโรคกระดูกที่มักพบได้บ่อย คือ กระดูกพรุน และมักพบในผู้สูงอายุ
สาเหตุของโรค
สาเหตุของโรคกระดูก มีดังนี้
- ความเสื่อมโทรมของร่างกายในผู้สูงอายุ และสตรีวัยหมดประจำเดือน
- กระดูกหักจากอุบัติเหตุ
- ขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี
- การติดเชื้อในกระดูก โรคมะเร็งกระดูก
- พันธุกรรม ซึ่งพบได้น้อยมาก
การดูแลและป้องกันตนเอง
ในวัยสูงอายุ ท่านควรเอาใจใส่ดูแลกระดูกให้ดี เพราะหากเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักขึ้นมา จะส่งผลให้เจ็บปวดทรมาน และใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ซึ่งอาจทำให้ดูแลตนเองไม่ได้ และต้องการความช่วยเหลือจากบุตรหลาน ดังนั้น คุณควรดูแลและป้องกันตนเองจากโรคกระดูกดังนี้
- เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนัก และเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก
- หากมีอาการผิดปกติ หรือหกล้ม ควรไปพบแพทย์
- ดูแลตนเองอย่างดี ระวังอย่าให้หกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุ
แม้ว่า ปัญหาเรื่องโรคกระดูกในผู้สูงอายุ จะไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ส่งผลให้ทุกข์ทรมานในการดำเนินชีวิต และอาจส่งผลต่อจิตใจของผู้สูงอายุได้ ดังนั้น การป้องกันไว้ก่อนด้วยการหมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และระมัดระวังในการดำเนินชีวิต ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้
สภาพสังคมในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานกันหมด จึงมักมีความจำเป็นต้อง
ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพร่างกาย
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เป็นการเปลี
ร่างกายของคนเรา มีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่แตกต่างไปตามเพศ วัย และขนาดของร่
ความจริงแล้ว อายุที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึง 40 ขึ้นไป คุณก็เข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป คุณก็
ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในครอบครัว คือผู้อาวุโสที่ลูกหลานควรให้ความเคารพ