รู้จัก และรับมือกับ “วัยทอง”อย่างภาคภูมิใจ



วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในช่วงอายุ 47-50 ปี เริ่มจากรังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ ซึ่งทำให้มีประจำเดือนถี่ขึ้นจากช่วงห่าง 28 วัน เป็นประมาณ 21 วันและระยะเวลาระหว่างรอบระดูจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่มีประจำเดือนอย่างถาวร โดยทั่วไปช่วงนี้ใช้เวลา 2-8 ปี

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในวัยทองนี้ แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนไม่มีปัญหาใดๆ แต่บางคนก็มีอาการรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและจิตใจโดยสาเหตุนั้นเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม การดำเนินชีวิต และสภาพแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น
เกิดขึ้นในช่วงต้นของการใกล้หมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการ ดังนี้
- เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัว ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น กำลังกล้ามเนื้อลดลง ปวดตามข้อ
- ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลีย หมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
เกิดขึ้นในช่วงหลังของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีอาการดังนี้
- มีการสูญเสียกระดูกมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไขมันในเลือดสูง

การรักษา
การรักษาทำได้โดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีอาการ โดยใช้ฮอร์โมนทดแทน คือ เอสโตรเจน เอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรน และฮอร์โมนอื่นๆซึ่งอาจเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ เป็นต้น

การปฏิบัติตนในวัยทอง
- ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง และควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ตรวจเต้านมด้วยตนเอง และตรวจร่างกายประจำปี
- ปรึกษาแพทย์ในการใช้ฮอร์โมนทดแทนในรายที่จำเป็น

เมื่อรู้จักอาการของวัยทอง และการปฏิบัติตนแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดีอยู่เสมอก็ช่วยได้มาก เพื่อให้คุณยิ้มรับวัยทองได้อย่างภาคภูมิใจ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ชวนผู้สูงอายุ เล่นหมากรุกไทย คลายเครียด

ถ้าผู้สูงอายุในบ้านของคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย หรือมีนิสัยที่เปลี่ยนไป เช่

สังคม...ตัวช่วยดีๆ ที่สร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ

ในวัยที่ถูกลดบทบาทต่างๆ ลง สูญเสียความมั่นคงในหลายๆ ด้าน ร่างกายก็เ

ดูแลฟันปลอมแต่ละชนิด เพื่อความสะอาดของช่องปากและคุณภาพชีวิตที่ดี

ฟันปลอม เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อเข้าสู่วัยชรา ร่างกายของเราย

ปัญหาขำขันในการสื่อสาร ที่ทำให้ผู้สูงอายุและคนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจกัน

ผู้ที่มีผู้สูงอายุในบ้านของท่าน หรือได้รู้จักคุ้นเคยกับผู้สูงอายุบางท่าน คงเคยม

3 สิ่งในความคิด ของผู้สูงอายุ

ในบ้านของคุณอาจมีผู้สูงอายุอยู่ และคุณก็ดูแลท่านเป็นอย่างดี แต่นอกจา

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แก้ไขอย่างไรบ้าง

คุณอาจเคยพบหรือรู้จักกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะหรือการขับถ่ายไม่อย