ในวัยสูงอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ช้าลง และยากลำบากขึ้น การมองเห็นก็ไม่ชัดเจน ส่งผลให้อาจเกิดอุบัติเหตุ หรือหกล้มได้ง่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ หรือหกล้ม นอกจากเสี่ยงกระดูกหัก เป็นอัมพาตแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดออกในสมองอีกด้วย
เลือดออกในสมอง แบ่งได้ 3 ส่วน คือ เลือดออกในเนื้อสมอง เลือดออกในโพรงน้ำในสมอง และเลือดออกส่วนอื่นๆ ของสมอง ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก
ปัจจัยเสี่ยง
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่ทานยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
- เป็นโรคตับ
- มีปัญหาเลือดออกง่าย
- ดื่มสุรา
- การกระทบกระเทือนศีรษะอย่างแรง
อาการของโรค
อาการของโรค แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ อาการ คือ ปวดศีรษะรุนแรง แขนขาอ่อนแรง อาเจียน หมดสติ โคม่า
2. ระยะเรื้อรัง มีอาการดังนี้ ปวดศีรษะเรื้อรัง อาเจียน หลงลืม เดินเซ พูดลำบาก แขนขาอ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ชัก หมดสติ โคม่า
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบมีดังนี้ ชัก สมองบวม เลือดออกซ้ำใต้เยื่อหุ้มสมองหลังผ่าตัด ติดเชื้อในสมองจากแผลผ่าตัด ปวดศีรษะเรื้อรัง พิการตลอดไป โคม่า เสียชีวิต
การดูแลตนเอง และการป้องกัน
- เน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก
- รักษาควบคุมโรคที่เป็นอยู่
- ระมัดระวังการทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
- ป้องกันการล้ม
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
ภาวะเลือดออกในสมอง เป็นสิ่งที่ร้ายแรง อาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ บุตรหลานจึงควรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และจัดสถานที่ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้วย
ยา เป็นสิ่งคู่กับผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยสูงอายุมักเกิดโรคประจำตัว หรือมีอาการเจ็บป่วย
ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีหลากหลายอารมณ์ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพร
ผู้สูงอายุหลายท่าน หรือวัยกลางคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงอายุ
ถ้าผู้สูงอายุของคุณ กำลังรู้สึกขาดกำลังใจ น้อยใจ รู้สึกไม่เป็นที่ต้องการของใครสักค
การขับถ่าย เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดจากการทำงานที่ไ